ในแต่ละองค์กรนั้น
ความสำเร็จของการทำ Onboarding อาจจะแตกต่างกันไป แต่จะวัดได้แบบมองเห็นและยอมรับได้โดยทั่วไปคือการที่พนักงานผ่านการทดลองงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทุกวันนี้ในหลายองค์กรก็ไม่ได้มีระยะเวลาทดลองงาน แล้วจะวัดกันยังไง พูดให้ง่ายๆคงจะเป็นคุณภาพของงาน ความสุขของพนักงานในการมีตัวตนในองค์กร ในเรื่องของความสำเร็จนี้ก็ไม่สามารถแยกรูปธรรม นามธรรมออกจากกันได้ ฟังดูฟุ้งกระจายเหมือนวิมานในอากาศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีวิธีจัดการ มาตามดูกันสิว่าจะจัดยังไงดี
Orientationก็ผ่านไปแล้ว แต่พนักงานได้อะไรจากการปฐมนิเทศนี้หรือเปล่า เขารู้จัก อาคาร สถานที่ ฝ่าย แผนก ใครทำอะไรที่ไหนยังไง อย่างน้อยเขาก็ควรรู้ว่าเมื่อเขาต้องติดต่องานเขาต้องติดต่อใคร อุปกรณ์สำนักงานที่ใช้เป็นมิตรกันหรือยัง ไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยสำหรับพนักงานใหม่1คนกับการ ผ่านพ้นแต่ละวันในช่วงแห่งการเริ่มงาน หลายคนทะเลาะกับเครื่องถ่ายเอกสารมากกว่าคุยกับเพื่อนร่วมงาน การจัดโปรแกรมที่มีรูปแบบไม่เป็นทางการ ด้วยการสังเกตพูดคุย จะทำให้พนักงานใหม่หัวใจว้าวุ่นน้อยลง(จริงๆ)
Job descriptionใบพรรณนางาน ปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัยหรือไม่ นี่ก็เป็นส่วนสำคัญในงาน ถ้า JD ชัดเจน น่าสนใจ พนักงานใหม่คงเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตัวเองได้ไม่อยาก กลับไปย้อนดูกันหน่อยว่า JD สมัยดึกดำบรรพ์มีอะไรต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปล่า อย่าให้พนักงานต้องเอ่ยปากว่า ให้ทำงานไม่ตรงกับ JD พนักงานส่วนใหญ่ไม่ได้รังเกียจที่จะทำงานมากกว่าหรือไม่มีในJD แต่งานในแบบที่พนักงานไม่รู้ว่านี่ต้องทำด้วยเหรอ ทั้งๆที่เป็นงานหลักของเขา แต่ไม่ถูกบรรจุไว้ใน JD ไม่ Happy เพราะมีแต่ความมึน
On the job training ให้เขาได้เรียนรู้การทำงานหลักจากการทำงานจริงหรือยัง หรือมาใหม่ไปเฝ้ากระติกน้ำร้อน ไปถ่ายสำเนาตลอดเวลาเพราะไม่มีใครสอนงาน พนักงานเก่าไม่กล้าสอนเพราะกลัวดูแลสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อไม่มีใครยังไงก็มีเธอ คุณหัวหน้างานต้องรับหน้าที่ไปโดยทันที คนเราเรียนรู้จากการความผิดพลาด คนเราเรียนรู้จากการลงมือทำ ทำแล้วก็ให้เขาบันทึกไว้ว่าเขาได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง ถ้าให้ทำอย่างเดียวโดนไม่มีการมารวบรวม ทบทวน สอบทาน พนักงานอาจมีทักษะแต่ไม่ตระหนักรู้ความสามารถ ความสำคัญของตัวเอง การให้เขาได้รับทราบว่าตัวเองทำอะไรได้ และทำได้ดีในระดับไหน เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาความสามารถของตัวเองต่อไป
หลักๆของการจัด Onboarding ก็คงใกล้เคียงกันเกือบๆทุกองค์กร สิ่งที่จะช่วยให้สำเร็จในเชิงของ HRIS ก็คงเป็นการเก็บสถิติ กำหนดการ หัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน1คน แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดการทำงานในส่วนอื่นขององค์กรได้ แต่ต้องใช้เวลามากในการจัดการ
ระบบการจัดการข้อมูลที่ดีช่วยได้มาก ช่วยให้ HR ยุคใหม่ประหยัดเวลาในเรื่องของการดูแลข้อมูลการจัดการงานจุกจิกเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่จะทำให้การทำ Onboarding สำเร็จได้ เพราะแทนที่จะใช้เวลาไปกับข้อมูล HR หรือหัวหน้างานจะได้ใช้เวลาในการfocusช่วงชีวิตแรกเข้าของพนักงาน
ไม่ระบบจัดการที่ดีที่สุด สำเร็จรูปที่สด ตายตัวเป็นสูตรสำเร็จของการ Onboarding ได้เท่ากับความเอาใจใส่และปรับใช้ให้เข้ากับพนักงานใหม่แต่แบบ
การจัด Program การวางแผน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เป็นตัวช่วยและสนับสนุนให้การมีอยู่ของพนักงานใหม่เป็นไปอย่างราบรื่นแต่ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะเป็นเช่นนั้นตลอดอายุการทำงานของพนักงานคนนั้น
สิ่งที่ดีสุดของการ Onboarding คือการตรวจสอบความก้าวหน้าในแต่ละช่วงของกระบวนการไปพร้อมๆกับการปรับปรุง การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลที่มีให้เลือกใช้มากมาย สำคัญคือองค์กรต้องไม่หยุดที่จะหาคำตอบเพื่อพัฒนาวิธีสร้างพนักงานใหม่ที่ดี
The post เคล็ดลับการจัดโปรแกรม Employee Onboarding ให้ประสบความสำเร็จ appeared first on EZY-HR.