การจัดการกะ ตอนที่ 4
ทายกันถูกไหมครับ กับการจัดการแบบที่สามที่เหลืออยู่ ใช่แล้วครับ แบบสุดท้ายคือ การขอสลับกะกับพนักงานคนอื่นนั่นเอง (ปรบมือ)
การสลับกะสองแบบแรกที่พูดถึง เป็นการขอสลับกับตัวเองทั้งสิ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการขอเปลี่ยนกะ หรือการขอสลับวันทำงานหรือวันหยุด แต่แบบที่สาม จะเป็นแบบขอสลับกะกับคนอื่น
สุดท้ายแล้ว หากเราไม่สามารถขอเปลี่ยนกะ หรือสลับกะการทำงานได้ เนื่องจากการวางจำนวนคนที่ต้องการในแต่ละกะไว้อย่างตายตัว การขอเปลี่ยนไปทำงานกะอื่น หรือการขอสลับวันหยุด อาจทำให้พนักงานในกะนั้นๆ ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ ทำให้ไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ นี่จะเป็นวิธีสุดท้ายที่สามารถทำได้ครับ
ธุรกิจใดบ้างที่มีการขอในเรื่องแบบนี้ โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาลอีกเช่นเคยครับ
โรงงานจะมีการกำหนดจำนวนพนักงานที่คุมเครื่องจักรหรือสายพานในกระบวนการผลิตไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการลดลงของพนักงานที่เข้าทำงาน อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตล่าช้าได้ หรือในกรณีโรงพยาบาลอาจทำให้จำนวนพยาบาลที่ดูแลคนไข้ไม่เพียงพอและดูแลไม่ทั่วถึงได้
การขอเปลี่ยนกะกับคนอื่น จึงเป็นทางออกที่ได้ผลสำหรับพนักงานที่ต้องลาไปทำธุระ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลางานเช่นกัน เพียงแต่พนักงานจะต้องไปหาคนที่จะแลกกะด้วยมาให้ได้เท่านั้นเอง จากนั้นก็เขียนใบคำร้องส่งมาที่หัวหน้างานหรือ HR เหมือนเดิมเพื่อขอนุมัติ
วิธีนี้พนักงานอาจต้องรอบคอบนิดหนึ่ง เนื่องจากกะที่มีการเปลี่ยนไป ถ้ายังอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์ สุดท้ายแล้วพนักงานอาจลืมได้ เมื่อใกล้ๆ เวลาอาจต้องคุยกันให้เรียบร้อยอีกครั้ง
ผมเคยเจอกรณีเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาลจำกะผิด จนเพื่อนต้องโทรมาตามก็มีกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็ใช้เวลาอีกเป็นชั่วโมง ยังดีว่า กะที่ลืมเป็นกะดึกและอยู่ในแผนกที่ไม่ใช่แผนกสำคัญมาก ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อคนไข้โดยตรงครับ
The post การสลับกะการทำงาน appeared first on EZY-HR.