เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีโอกาสได้ไปเดินงานมหกรรมหนังสือที่เมืองทองธานี ได้หนังสือดีๆ มาหลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือ หนังสือปรัชญาการทำงาน และการดำเนินชีวิตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานกิจการในเครือสหพัฒน์
“ความรู้เหมือนดาบยิ่งใช้ยิ่งคม”
ผู้ใดมีความรู้และนำเอาความรู้ของตนมาใช้และถ่ายทอดให้ผู้อื่น
ผู้นั้นจะยิ่งเกิดความชำนาญและเป็นการเพิ่มคุณค่าแห่งความรู้นั้นด้วย
เปรียบเสมือนดาบที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ และได้รับการเอาใจใส่ดูแล
ให้คงไว้ซึ่งความคม…ตลอดเวลา
เมื่อเห็นบทนี้แอดจึงนึกถึงเรื่อง ปิรามิดการเรียนรู้ (Learning Pyramid) ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Edgar Dale (1969)
ปิรามิดการเรียนรู้ (Learning Pyramid) คือ วิธีการเรียนรู้แต่ละวิธีได้รับประสิทธิภาพแต่ต่างกัน
- Lecture การเรียนรู้แบบนั่งเรียน ฟังบรรยาย พบว่าผลที่ได้รับ 5% การเรียนแบบนี้มันสามารถถูกลืมในที่สุด หรือคุณไม่สามารถจดจำได้ทั้งหมด
- Reading การอ่าน พบว่าผลที่ได้รับอยู่ประมาณ 10% มันทำให้คุณรู้ และเข้าใจตอนที่อ่าน แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่ทบทวนมันก็ไม่ต่อเนื่อง ลืมไปในที่สุด
- Audio and Visual การเรียนรู้โดยการฟัง ดูวิดีทัศน์ การฟังเสียง ดูรูปภาพ หรือวีดีโอ ได้ผลมากขึ้นประมาณ 20%
- Demonstration การเรียนรู้โดยแสดงตัวอย่าง การสาธิตให้ดู ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพถึง 30%
- Discussion การเรียนรู้ด้วยการพูดคุย แบ่งปันความคิดเห็น ได้ผลมาถึง 50% เลยทีเดียว เช่นการเรียนเป็นกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม
- Practice doing การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ทำจริง ทดลองทำ ได้ผลมาถึง 75% เกิดจากลองทำและได้เจอปัญหา เข้าใจขั้นตอนลงมือทำ เช่น การทดลองทำอาหาร เป็นต้น
- Teach other การสอนผู้อื่น หลังจากที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ สามารถรวบรวม ประมวลความรู้ จัดทำบทเรียน หรือบทสรุปเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่น การเรียนรู้ เช่นนี้ คุณได้ถึง 90% ซึ่งยากที่คุณจะลืม
ความรู้เหมือนดาบยิ่งใช้ยิ่งคม คำสอนนี้คมจริง การสอน การถ่ายทอด การแบ่งปันความรู้นั้นต้องทำการบ้านอย่างหนัก ผู้สอนต้องอ่านมากขึ้น ศึกษาข้อมูลมากขึ้น นำมารวบรวมให้เป็นหัวข้อ หาวิธีถ่ายทอดให้ผู้รับฟังเข้าใจ
ผู้สอนเองก็จะได้ประโยชน์จากการแบ่งปันมากขึ้น ได้ความรู้ความชำนาญมากขึ้น ได้การแลกเปลี่ยนในมุมมองอื่นๆ มากขึ้น มีการต่อยอดจากการเรียนเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ยังไม่จบแค่นี้ค่ะ…สไตล์ของบทความ EZY-HR
ยกตัวอย่างลองหาวิธีพัฒนาทักษะความรู้พนักงานจากปิรามิด หากเรามีโครงการสนับสนุนให้พนักงานเป็น “วิทยากร” ในส่วนที่ตนชำนาญ มาลองคิดชื่อโครงการกัน เช่น
โครงการ “Tutor Tume ติวเตอร์ ติวมี”
โครงการ “Knowledge Sharing แบ่งปันความรู้”
โครงการ “Learn Ploen เรียนเพลิน”
วัตถุประสงค์
สนับสนุนให้พนักงานในองค์กรแบ่งปันความรู้ความชำนาญที่ตนมีอยู่ให้กับเพื่อนร่วมงานภายในองค์กร
ขั้นตอน
- เชิญชวนพนักงานเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ 15 – 30 คน ที่มีความสามารถ เช่น
- คนที่มีการต้อนรับลูกค้าโดดเด่นลูกค้าชมทุกคน
- พนักงานที่มีทักษะ Excel ทำงานได้รวดเร็ว สรุปรายงานได้ดี
- พนักงานที่แต่งหน้าสวย หน้ามอง
- พนักงานที่ถ่ายรูปเก่ง ถ่ายแล้วภาพชวนมอง เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อ
- มีความสามารถทางกราฟฟิค Adobe Illustrator, Photoshop หรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่นๆ
*อย่าจำกัดเลยค่ะ เปิดกว้างทางการเรียนรู้ ทุกอย่างมีประโยชน์ต่อการทำงานทั้งสิ้นหากรู้จักประยุกต์ใช้
*จัดคลาสที่พนักงานอยากเรียนสลับกับคลาสที่จำเป็นต้องเรียน
- พัฒนาพนักงานที่อาสาเป็นวิทยากร โดยเข้าเรียนหลักสูตร “Train The Trainner” และการเขียนหลักสูตรเตรียมการเรียนการสอน
- สนับสนุนให้มีการจัดอบรมหลักสูตรสั้นๆ 3 ชั่วโมง กับกลุ่มเล็กๆ ก่อน 10 – 12 คน
- เสนอกลยุทธ์หรือแรงจูงใจให้เกิดมีการเรียนการสอน
- การให้ค่าตอบแทนการจัดทำหลักสูตรให้กับพนักงานผู้สอน คิดเป็นชั่วโมงต่อครั้งค่ะ (เชื่อเถอะว่าเมื่อคำนวณออกมาแล้วเป็นงบประมาณที่ไม่แพงเลย เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างวิทยากรภายนอก)
- จัดพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงความสามารถ
- มีการสนับสนุนการจัดอบรมด้วยการทำประชาสัมพันธ์ เป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแลตลอดหลักสูตร
- เปิดหลักสูตรที่พนักงานอยากเรียนก่อน แอดเคยจัดหลักสูตรการแต่งหน้า โห..เต็มตั้งแต่วันแรกที่เปิดลงชื่อ
- อย่างที่เคยบอกค่ะ เปิดกว้าง ลองรับฟังเสียงพนักงาน สอนในสิ่งที่พนักงานอยากเรียน เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ ต่อไปเราเปิดหลักสูตร หรือโครงการอะไรก็จะได้รับความร่วมมือ
แอดมิดเขียนเสมอว่า เครื่องมือที่ดี คือ เครื่องมือที่คนใช้ ท่านสามารถนำทฤษฎีต้นแบบมาประยุกต์ใช้ หรือการผสมผสานเครื่องมือเครื่องใช้ให้เข้ากับองค์กร และพนักงานในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1. หนังสือปรัชญาการทำงานและการดำเนินชีวิต ของ ดร.เทียม โชควัฒนา
2. ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ (The Learning Pyramid) เรียนยังไงให้ได้ผลมากที่สุด https://www.myquestionth.com/question/8709
The post การพัฒนาบุคลากรยังมีอีกหลายวิธี appeared first on EZY-HR.